วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


ชื่องานวิจัย             ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้จัดทำ                  1. นายโรจน์ธิพร พงษ์พาณิชบวร        เลขที่ 14
                               2. นายธนานนท์ ชมถนอม                   เลขที่ 15
                               3. นางสาวนภัสสร แก้วแดง                 เลขที่ 45

โรงเรียน                 พะเยาพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ครูที่ปรึษา               คุณครูยิ่งศักดิ์ กระจ่างแจ้ง




บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 6    นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยแต่ละด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า ปัจจัยที่ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้ามหาวิทยาลัย เพื่ออะไรและนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาหาทางสนับสนุนและแก้ไขต่อไปโดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน (สายศิลป์ 15 คน สายวิทย์-คณิต 15 คน ) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ  แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  สถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือโรงเรียนพะเยาพิทยาคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ระดับความคิดเห็นที่คำนวณออกมาเป็นร้อยละ ผลการทดลองสรุปได้ว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุดคือ ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุนคิดเป็นร้อยละ 36.11   ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ต้องมีทุนในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยหัวข้อตามนี้
1 ด้านภูมิหลัง
1.1 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.2 ระยะทางจากบ้านถึงมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.3 รายได้ของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 31.05

2 ด้านความสามารถส่วนบุคคล
2.1 เกรดเฉลี่ยของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
2.2 ความรู้พื้นฐานที่มีของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด                    2.3 ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการของท่าน เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม วิชาชีพครูมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 32.22%

3 ด้านความคาดหวังของนักเรียน ที่มีต่อมหาวิทยาลัย
3.1 ความต้องการของตลาดแรงงานมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
3.2 ความภูมิใจของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 33.33 %



4 ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
4.1 การที่ท่านมีรุ่นพี่ / คนรู้จักเรียนอยู่ ในมหาวิทยาลัยนั้นมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.2 การที่เพื่อนแนะนำ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.3 การที่อาจารย์แนะนำให้เรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.4 บุคคลที่ท่านประทับใจ(Idol) เป็นศิษย์เก่าสถาบันนี้ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.5 การที่ผู้ปกครองอยากให้เรียน เช่น อยากให้เป็นหมอ เป็นครู หรือเรียนบริหารเพื่อมาช่วยงานที่บ้าน เป็นต้น มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.6 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากอินเตอร์เนต มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.7 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากหนังสือคู่มือการศึกษาต่อ, หนังสือพิมพ์,วารสาร มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.8 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอน ที่ได้รับจากใบปลิว , แผ่นพับ, โปสเตอร์ ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.9 ข้อมูลของสถาบันการศึกษาที่ท่านได้จากการเข้าร่วมงานแนะแนวการศึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 31.41

5 ระบบการสอบคัดเลือก
5.1 รูปแบบการรับนักศึกษา เช่น รับนักศึกษาจากคะแนนแอดมิสชั่น สอบตรง หรือเลือกรับเข้าจากทั้งสองทาง มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.2 วิชาที่ใช้สอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ หรือวิชาความถนัด มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.3 อัตราการแข่งขันในการสอบเข้าคณะนั้นๆ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 30.73 %

6 คุณภาพมหาวิทยาลัย
6.1 ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.2 ชื่อเสียงของคณาจารย์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.3 ชื่อเสียงของนักศึกษาปัจจุบัน หรือศิษย์เก่า มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 34.44

7 ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
7.1 ขนาดพื้นที่ ความใหญ่โตและความทันสมัยของอาคารเรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.2 ความสวยงามและความร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.3 ความพร้อมและความทันสมัยของอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.4 มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น หอพัก สนามกีฬา สถานพยาบาล มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 34.73


8 ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน
8.1 ค่าเล่าเรียนในการสึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
8.2 ทุนการศึกษา มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
คิดเป็นร้อยละ 36.11

ดังนั้น ข้อมูลเหล่านั้นจึงเป็นประโยชน์ต่อทั้งนักเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆที่ต้องการจะทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพศึกษาและการบริการของมหาวิทยาลัยต่างๆ



กิตติกรรมประกาศ


            รายงานจากการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของ บุคคลหลายท่าน ซึ่งไม่อาจจะนำมากล่าวได้ทั้งหมด  ซึ่งผู้มีพระคุณท่านแรกที่ผู้ศึกษาใคร่ขอกราบพระคุณคือ คุณครูยิ่งศักดิ์ กระจ่างแจ้ง  ครูผู้สอนที่ได้ให้ความรู้  คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้การเขียนรายงานค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด  ผู้ศึกษาใคร่ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่าสูง ไว้ ณ โอกาส นี้ นอกจากนี้ผู้ศึกษาขอขอบคุณรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ที่ได้กรอบแบบสอบถาม และขอขอบคุณ นายศรีวรรณ ปินใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โรงเรียนที่เอื้อต่อการค้นคว้า ขอขอบคุณเพื่อนๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด และให้กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าตลอดมา
            ขอขอบคุณคุณครูโรงเรียนพะเยาพิทยาคมทุกสาขาวิชาที่ได้ฝึกสอน ได้คำแนะนำในการจัดทำรายงานจากการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้ที่ไม่ได้ กล่าวนาม


ผู้จัดทำ  

        นายโรจน์ธิพร         พงษ์พาณิชบวร
นายธนานนท์                    ชมถนอม    
  นางสาวนภัสสร                  แก้วแดง





บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

                เนื่องจากในปัจจุบันการเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีหลายปัจจัย เช่น ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ระยะทาง รายได้ของผู้ปกครอง เกรดเฉลี่ย การเข้าดรียนตามเพื่อน ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ค่าเล่าเรียน หรือคุณภาพของสถาบันการศึกษานั้น และอีกหลายๆปัจจัย ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมานั้น ต่างการมีอิทธิพลต่อการเข้าเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสิ้น จึงทำให้ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการสำรวจขึ้นมา เพื่อสำรวจการตัดสินใจของนักเรียนว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้นักเรียนอยากเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ

วัตถุประสงค์ของงสนวิจัย

                เพื่อศึกษาสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยากที่จะเข้าไปเรียน และทำสถิติลำดับปัจจัยที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตัดสินเลือกมากที่สุด

สมมุติฐานของงานวิจัย

          นักเรียนในโรงเรียนพะเยาพิทยาคม เลือกปัจจัยที่มีผลต่อการตักสินใจในการเข้ามหาวิทยาลัยคือ รูปแบบการรับนักศึกษา ในที่นี้คือ  การสอบโควต้า การแอดมิชชั่น การสอบตรง หรือการเลือกรับเข้าทั้งสองทาง โดยนักเรียนส่วนมากจะเข้าสอบโควต้าของมหาวิทยาลัยต่างๆที่โรงเรียนได้รับมา หรือ การแอดมิชชั่นที่ใช้คะแนนของ GAT PAT

ขอบเขตของงานวิจัย

1.      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน (สายศิลป์ 15 คน สายวิทย์-คณิต 15 )
2.      ตั้งแต่ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.. 2555 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม พ.. 2555


นิยามศัพท์เฉพาะ

          โควตา วิชาโควตา คือวิชาที่มหาวิทยาลัยจำกัดจำนวนนักศึกษาที่จะจดทะเบียนฯในรายวิชานั้น  (ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ.2540 ข้อ 10.2 ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร มหาวิทยาลัยอาจจำกัดจำนวนนักศึกษาที่จดทะเบียนศึกษาในรายวิชาใดวิชาหนึ่งก็ได้) เพื่อคุณภาพการเรียนการสอน

          แอดมิชชั่น  คือ  แอดมิชชั่น หรือ Admission ชื่อเต็มๆว่า ระบบกลางคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Central University Admissions System: CUAS) ดูแค่ชื่อก็น่าจะทราบกันดีแล้วว่าแอดมิสชั่นคือระบบสอบกลางที่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่มีความต้องการจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ต้องสอบ แล้วนำคะแนนสอบที่ได้มายื่นเลือกคณะกันอีกที




GAT PAT แยกเป็น
           ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test) 
คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ 
              1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 %
              2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %

ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT :Professional and Academic Aptitude Test) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ
              1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
              2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
              3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
              4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
              5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
              6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
              7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ






บทที่ 2
แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


1.      การเข้าเรียนต่อคืออะไร
2.      สามารถเข้าต่อได้โดยวิธีใดบ้าง
2.1              โควต้า
2.2              สอบตรง
2.3              แอดมิชชั่น
2.4              ทุน
3.      ข้อดี-ข้อเสียของการเลือกการเข้าเรียน
4.      ตัวอย่างสถิติของการเข้าเรียนต่อ
5.      การตัดสินใจเลือกที่เรียนที่จะศึกษาต่อมีผลต่อนักเรียนไทย
6.      แบบสอบถามงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1 ด้านภูมิหลัง
1.1 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.2 ระยะทางจากบ้านถึงมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.3 รายได้ของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

2 ด้านความสามารถส่วนบุคคล
2.1 เกรดเฉลี่ยของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
2.2 ความรู้พื้นฐานที่มีของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด                    2.3 ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการของท่าน เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม วิชาชีพครูมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

3 ด้านความคาดหวังของนักเรียน ที่มีต่อมหาวิทยาลัย
3.1 ความต้องการของตลาดแรงงานมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
3.2 ความภูมิใจของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

4 ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
4.1 การที่ท่านมีรุ่นพี่ / คนรู้จักเรียนอยู่ ในมหาวิทยาลัยนั้นมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.2 การที่เพื่อนแนะนำ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.3 การที่อาจารย์แนะนำให้เรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.4 บุคคลที่ท่านประทับใจ(Idol) เป็นศิษย์เก่าสถาบันนี้ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.5 การที่ผู้ปกครองอยากให้เรียน เช่น อยากให้เป็นหมอ เป็นครู หรือเรียนบริหารเพื่อมาช่วยงานที่บ้าน เป็นต้น มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.6 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากอินเตอร์เนต มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.7 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากหนังสือคู่มือการศึกษาต่อ, หนังสือพิมพ์,วารสาร มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.8 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอน ที่ได้รับจากใบปลิว , แผ่นพับ, โปสเตอร์ ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.9 ข้อมูลของสถาบันการศึกษาที่ท่านได้จากการเข้าร่วมงานแนะแนวการศึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

5 ระบบการสอบคัดเลือก
5.1 รูปแบบการรับนักศึกษา เช่น รับนักศึกษาจากคะแนนแอดมิสชั่น สอบตรง หรือเลือกรับเข้าจากทั้งสองทาง มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.2 วิชาที่ใช้สอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ หรือวิชาความถนัด มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.3 อัตราการแข่งขันในการสอบเข้าคณะนั้นๆ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

6 คุณภาพมหาวิทยาลัย
6.1 ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.2 ชื่อเสียงของคณาจารย์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.3 ชื่อเสียงของนักศึกษาปัจจุบัน หรือศิษย์เก่า มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

7 ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
7.1 ขนาดพื้นที่ ความใหญ่โตและความทันสมัยของอาคารเรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.2 ความสวยงามและความร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.3 ความพร้อมและความทันสมัยของอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.4 มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น หอพัก สนามกีฬา สถานพยาบาล มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

8 ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน
8.1 ค่าเล่าเรียนในการสึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
8.2 ทุนการศึกษา มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

หลักการ/ทฤษฎี คำแนะนำในการเลือกเรียนมหาวิทยาลัย
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม สิงหาคม 2554
ปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี FACTORS RELATED THE ADOPTION TO STUDY IN PRIVATE VOCATIONAL SCHOOL IN PRACHIN BURI PROVINCE
กฤษณ์ บุตรเนียน จุไร โชคประสิทธิ์ และอรสา จรูญธรรม Kit Butnian, Julai Chokprasit, and Orasa Charoontham
1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชน ในจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านอิทธิพล จากโรงเรียน/ครูแนะแนว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก และด้านอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านภาพลักษณ์ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก และด้านค่าเล่าเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย
องค์กร International Graduate Insight Group (i-graduate) องค์กรวิจัยอิสระที่สนับสนุนผลการวิจัยและให้คำปรึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษา กว่า 140 สถาบันทั่วโลก โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์ อเมริกาเหนือ และแอฟริกาใต้ ได้เผยสำรวจล่าสุดแก่นิตยสารไทมส์ไฮเออร์ (Times Higher Education Supplement: THES) เมื่อปลายมกราคม 2008 ในประเด็นที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศของนัก ศึกษาต่างชาติมากที่สุด โดยสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษา 11,000 คน ใน 143 ประเทศทั่วโลก
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ความคาดหวังของนักศึกษาต่างชาติต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรกำลังการ ท้าทายสหรัฐฯ อย่างมาก และสหรัฐฯ กำลังเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ในปัจจุบัน ได้หันมาเพิ่มศักยภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายในประเทศ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเสียส่วนแบ่งในอัตราที่เร็วกว่าสหราชอาณาจักร แต่คงง่ายเกินไปที่จะสรุปว่า ในตลาดการศึกษาระดับอุดมศึกษา สหรัฐฯ กำลังกลายเป็นผู้เล่นรอง ผลสำรวจยังถือว่าเป็นเพียงสัญญาณเตือนเบื้องต้นของสหรัฐฯ เท่านั้น เพราะผลสำรวจ พบว่า นักศึกษากว่า 2 ใน 3 เลือกเรียนเพราะสถาบันการศึกษามากกว่าประเทศ โดยปัจจัยด้านชื่อเสียงและการดำเนินการทางการตลาดของแต่ละสถาบัน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสหรัฐฯ ยังได้รับการยอมรับด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยมากกว่าสหราชอาณาจักร คืออยู่ที่ร้อยละ 99 สหราชอาณาจักรอยู่ที่ร้อยละ 97 แคนนาดา เยอรมนี และฝรั่งเศส อยู่ที่ร้อยละ 97
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
ปัจจัยในการเลือก
# ความชอบและความถนัด ของตัวเรา
# ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
# ชื่อเสียงของคณาจารย์ผู้สอน
# หลักสูตรที่เราเรียน
# ความเป็นที่ยอมรับในวงการ ต่อหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เราเรียน
# ขนาดของมหาวิทยาลัยและห้องเรียน
# เพื่อน
# คุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย
# ความคาดหวังว่าพอจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว เราจะได้อะไร
# ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และบริเวณแถวนั้น
# บางคนอาจจะรวมไปถึง อยากไปอยู่ต่างจังหวัด หรืออยากเข้ามากรุงเทพก็ได้
# ค่าเล่าเรียน



บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน

1.      วางแผน และแบ่งงานให้สมาชิกในกลุ่ม
2.      จัดทำแบบสอบถาม และแบบทดสอบเกี่ยวกับการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3.      ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ทำแบบสอบถาม แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล
4.      รวบรวมรอยขีด และทำเป็น เปอร์เซ้นออกมา เพื่อใช้ทำเป็นกราฟ
5.      สรุปผล และอภิปราย

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย

1.      คอมพิวเตอร์
2.      แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนในมหาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ”
3.      อุปการณ์การเขียน


บทที่ 4
ผลการทดลอง

แผนภูมิข้างต้นแสดงถึง ระดับของปัจจัยที่มีผลต่อนักเรียนในการตัดสินใจในการเข้ารัยนมหาวิทยาลัย




           
              จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพบว่า ปัจจัยทั้ง 8 ด้าน ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนของนักเรียนนั้นอยู่ในระดับปานกลาง รองมาคือ ระดับมากที่สุด และ ระดับที่น้อยสุดเป็นลำดับสุดท้ายและสามารถเขียนเป็นเปอร์เซ็นของแต่ละด้าน ได้ดังนี้ ด้านภูมิหลัง 31.05 %  ด้านความสามารถของบุคคล 32.22% ด้านความหวังของนักเรียนที่มีต่อมหาวิทยาลัย 33.33 % ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ 31.41 % ระบบการสอบคัดเลือก 30.73 % คุณภาพของมหาวิทยาลัย 34.44 % ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย 34.73 % และด้านค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน 36.11 %


บทที่ 5
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการทดลอง

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนมากที่สุดคือ ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน ซึ่งในปัจจุบันเงินก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการศึกษาสถาบันต่างๆ ทำให้ค่าเล่าเรียนในบางมหาวิทยาลัยที่นักเรียนต้องการเรียนนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงจึงทำให้นักเรียนและผู้ปกครองต้องหาเงินมาจ่ายบางคนนั้นก็ใช้เงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาในการเล่าเรียนต่อ

ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและในบางสถาบันที่ต้องการจะทราบถึงปัจจัยในการตัดสินใจ การศึกษาต่อของนักเรียนและมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะนำไปพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขได้

อธิปรายผลการทดลอง

จากการทดลอง โดยใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 30 คน ซี่งเป็นสายวิทย์-คณิต 15 คน สายศิลป์ 15 คน ในระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน พ.2555  ในการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนในการเข้ามหาวิทยาลัยพบว่า

ปัจจัยที่มีผลสูงที่สุดคือ ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน ( 36.11 ) รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ( 34.73 ) คุณภาพของมหาวิทยาลัย ( 34.44 )
ด้านความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อมหาวิทยาลัย ( 33.33 ) รองลงมาคือ ด้านความสามารถของบุคคล ( 32.22 )  ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ( 31.41 )  ด้านภูมิหลัง ( 31.05 ) และระบบการสอบคัดเลือก ( 30.73 ) ตามลำดับ


ข้อเสนอแนะ

1.      ควรมีการแนะนำและทำแผ่นพับเกี่ยวกับแต่ละสถาบันและคณะต่างๆ









เอกสารอ้างอิง


การเข้าเรียนต่อ.   [Online].  http://www.unigang.com/Article/241

         แอดมิชชั่น. [online ]. http://www.unigang.com/Article/1768

         ตัวอย่างสถิติการเลือกเข้าคณะต่างๆ. [online ].         http://edunews.eduzones.com/buadmissions/91544





ภาคผนวก

แบบสอบถามงานวิจัย

  







1 ความคิดเห็น: